忍者ブログ
Admin*Write*Comment
タイ語メモ
[204]  [203]  [202]  [201]  [199]  [200]  [198]  [197]  [196]  [194]  [192
×

[PR]上記の広告は3ヶ月以上新規記事投稿のないブログに表示されています。新しい記事を書く事で広告が消えます。

สวัสดีค่ะ...คือว่ามีคำถามที่แคลงใจมานานแล้วนะคะ ตั้งแต่ได้รู้จักกับคำย่อนี่แหละค่ะ ... ก็เลยอยากจะถามกับทุกท่านค่ะ...
ขอเริ่มก่อนสักนิดนะคะว่าปกติคำย่อทุกคำก็ ต้องมีจุดแต่เราจะใช้ยังไงคะ
หมายความว่า เมื่อไรเราจะใช้จุดคั่นระหว่างอักษร และเมื่อไรเราจะใช้จุดหลังตัวอักษร เราจะแยกแยะยังไงดีคะ ....
ขอบพระคุณไว้ล่วงหน้าเลยนะคะเพราะคำตอบที่ได้มานี้จะเป็นประโยชน์ต่อการ เรียนน่ะค่ะ.........ขอบคุณค่ะ จูเลียน่า
.... แล้วมีอีกคำถามนึงที่ติดใจมานานเหมือนกันนั่นก็คือ..เราใช้คำที่ย่อมาจากโรงแรมและโรงเรียนเหมือนกันใช่ไหมคะ ( ร.ร ) แล้วเวลาเราใช้ไม่สับสนแย่หรือคะ
แหะ แหะ คุณหนูจูเลียน่าจ้ะ เจ้าคำว่าโรงแรมนี่ ผมก็ไม่เคยเห็นเขาย่อกันนะ นอกเสียจากว่าเราจะมาย่อกันเล่น ๆ เท่านั้นแหละ ผมเองก็ไม่รู้ว่าคำตอบของผมถูกต้องหรือไม่นะครับ ต้องให้ลุงอ่ำหรือลุงภามา
ตอบด้วยนะครับ ภาษาไทยของผมเองก็ไม่ค่อยจะกระดิกหูเท่าไหร่นัก แหะแหะ โรงเรียน คำย่อคือ ร.ร.
ส่วนโรงแรม จะพบตัวย่อในหนังสือพิมพ์ ค่ะ เป็นภาษาเร่งด่วน เขาใช้ รร. เวลาพาดหัวข่าว อ่านแล้วตกใจทุกที เช่น ฆ่าปาดคอผู้อำนวยการใน รร.ชื่อดัง หรือ จับวัยรุ่นมั่วสุมใน รร. ชื่อดังย่าน..... นึกว่าเป็นโรงเรียนทุกที
ใคร ๆ ก็คิดว่าลุงภาคงจะให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการใช้อักษรย่อนี้ได้ ลุงภาก็บ้ายอเสียด้วยสิ ไปค้นตำหรับตำราที่ห้องสมุด กค. ก็ไม่มี ถาม ผอ. ผอ.ก็ตอบไม่ได้ ผช.ทุกฝ่ายก็ไม่ทราบเช่นกัน ขึ้นไปถามเพื่อนที่ สล. ก็ไม่อยู่ทราบว่าไป กจ. แล้วก็จะนั่งรถ ปอ. ไป สสวท.ประมาณ 2 ชม. คงจะกลับ จึงเดินออกมาพบ สว กทม..กับ สส. สอบตกท่านหนึ่ง มุ่งหน้าจะไปพบ รมช. ที่หน้า สป. ซึ่งมีนักข่าว นสพ. รุมล้อมอยู่ ก็ไม่มีโอกาสได้ถามอีก ก็เป็นอันว่า งานนี้ลุงภาก็หมดปัญญาเช่นกัน
แหม หนูจูเลียน่า ถามดีจริง ๆ คำถามอันนี้ รับรองหาคำตอบได้ยากแฮะ ผมว่า เราคนไทยเขียนมั่วไปเรื่อยไม่มีหลักเกณฑ์อะไรมากำกับ ตามความคิดของผมนะครับ เดิมภาษาไทยเราคงไม่ใช้คำย่อกัน จึงไม่เคยเห็น กฏระเบียบในการใช้คำย่อ แต่ต่อมาเริ่มใช้คำย่อขึ้น โดยเริ่มต้นจากการใช้คำย่อ สำหรับยศตำแหน่งตำรวจ ทหาร ราชวงศ์ เพศ เป็นต้น ผมคิดว่า ตอนแรก ก็มีจุดระหว่างอักษรทุกตัวเลย แต่ระยะหลังก็ มีการย่อชื่อขององค์การ พรรค สำนักงาน ซึ่งมีความยาวมากขึ้นก็เลย ทำลืมจุดเสียบ้าง เพราะคนไทยชอบตัดของยาว ๆ ให้มันสั้นลง หรืออาจจะ เขียนย่อตามฝรั่งก็ได้ เพราะฝรั่งไม่ใช้จุดระหว่างอักษรของคำย่อ ระยะนี้ ก็เลยมั่วไปหมด แล้วแต่จะเขียนกัน ผมเองก็ไม่ค่อยได้สังเกตสังกาเกี่ยวกับเรื่องนี้เท่าไร ก็เลยเขียนมั่วไปด้วย แหะ แหะ
ผมว่า พวกเรามาปฏิรูปเสียใหม่ให้หมดดีกว่า จะได้มีกฏเกณฑ์กันเสียที โดย ให้มีจุดหลังอักษรตัวท้ายเท่านั้น เช่น ดช. (เด็กชาย) ดญ.(เด็กหญญิง) รร. (โรงเรียน) ททบ. (โทรทัศน์กองทัพบก) มรว. (หม่อมราชวงศ์) พอ. (พันเอก) พคท. (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) พกง. (พนักงานเก็บเงิน) เป็นต้น แต่ พล.ต. (พลตรี) พล.อ. ต้องมีจุดอยู่ข้างหลัง พล นะครับ ต้องยกเว้นเป็นพิเศษ เพราะนายพลนั้นยิ่งใหญ่ ก็เลยมีข้อยกเว้นเรื่อยไป แหะ แหะ ถ้าไม่มีจุด ก็จะต้องอ่านว่า พ ล ต ไม่ใช่ พล ต นอกนั้นก็มีจุดเดียวหลังอักษรตัวท้ายก็ พอ ความจริง จุด (จุดมหัพภาค) นี้ ควรจะเป็นจุดที่เขียนลงหลังมุขยประโยค เช่นเดียวกับจุดลูกน้ำ (จุดจุลภาค) ซึ่งใช้เขียนระหว่างมุขยประโยคกับ อนุประโยค หรือวลี หากเราเขียนภาษาไทยโดยใช้จุดจุลภาคกับมหัพภาคแล้ว อาจจะทำให้พวกเราอ่านภาษาไทยแล้วมีความเข้าใจแจ่มแจ้งตามที่ผู้เขียนต้องการ ให้เราเข้าใจก็ได้ จะสังเกตได้ว่า บ่อยครั้งที่เราอ่านภาษาไทยแล้วไม่เข้าใจ หรือตีความได้ไม่แน่นอน แม้จะอ่านแล้วอ่านอีกสักกี่ครั้งก็ตาม ซึ่งผิดกับภาษาอังกฤษ์ที่ใช้จุดจุลภาค และมหัพภาคตลอดเวลา บางครั้งเราอ่านไม่เข้าใจ แต่ถ้าพิจารณาถึงความ เชื่อมต่อของมุขยประโยค (main sentence)กับ อนุประโยค(cluase) หรือวลี (phrase) แล้ว จะทำให้เข้าใจได้
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงพยายามแนะนำให้คนไทยเขียนภาษาไทยโดยใช้จุดมหัพภาคและจุลภาค พระองค์ได้ทรงลิขิต (ผมอยากจะใช้คำว่า ทรงเขียน) หนังสือ หรือบทความ (ผมจำไม่ได้) โดยใช้จุดทั้งสองโดยตลอด ผมเคยไปนั่งอ่านอยู่ครั้งหนึ่งที่ สมุดแห่งชาติ อ่านแล้วได้ความชัดเจนไม่มีความสงสัยในความหมายของ ประโยคเลย แต่เป็นที่น่าเสียดาย ความพยายามของพระองค์กลับไม่ประสบผลสำเร็จ หนังสือหรือบทความที่ว่านี้ ก็ยังคงมีอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติแน่ ๆ
ผมก็จำไม่ได้ว่า หนังสือชื่ออะไร แต่เป็นหนังสือประเภทหนังสือหายากของหอสมุด
แล้วลุงอ่ำ และลุงภา ละครับ เคยเห็นกฎเกณฑ์การใช้เจ้าตัว จุด นี้บ้างหรือเปล่า
มีเรื่องมาเล่า "เหตุเกิดที่ว่าการอำเภอ แห่งหนึ่ง วันนั้นเป็นวันประชุม ผู้ใหญ่บ้านของทุกตำบล มาประชุมที่อำเภอ ซึ่งมีการชี้แจงการปฏิบัติงาน หน้าที่ต่างๆ และ คำย่อ ที่ใช้เรียกในราชการ ซึ่งทำให้ท่านผู้ใหญ่บ้านทั้งหลาย สนุกสนานเป็นอันมาก เพราะได้ความรู้ใหม่ และนำคำย่อต่าง ๆ มาล้อเลียนบ้าง พอขำ ๆ
พอเลิกประชุม ทุกคนก็ต้องเดินทางกลับ มีผู้ใหญ่บ้านท่านหนึ่ง กำลังเดินผ่าน ประตู เหลือบมองไปเห็น ป้าย และ เห็นคำย่อคำหนึ่ง และสงสัยมาก เพราะเมื่อกี้ วิทยากรไม่ได้สอนไว้ ทั้งๆ ที่ป้ายอยู่ในอำเภอ แท้ๆ ก็เลยตะโกนถาม วิทยากรที่กำลังเดินตามออกมาว่า
........ ไอ้ตัวย่อ อ อ ก นี้มันย่อมาจากคำว่าอะไร ครับ เมื่อกี้ไม่เห็นมีใครบอก

วิทยากร อึ้ง กิม กี่ พูดไม่ออก ได้แต่ยิ้ม และ บอกว่า ...ผู้ใหญ่ ลองอ่านแบบไม่ใช่ ตัวย่อสิครับ
อ อ ก
อ่าน ว่า ออก
ทางออกไง -*-
เห็นอะไรก็เป็นตัวย่อไปหมดเลย ทำไปได้ 55555 !!!!!

คำถามที่ถามบ่อยๆ และยังไม่ชัดเจน
พล.ต พ.ต.อ. ร.ท. น.อ. ด.ช. ร.ร. พขร. ททบ. ททท. กพ. ขสทบ.
รสช. พคท. จ. อ. ต. จยย (จักรยานยนต์) จนท รปภ
สส. (หรือ ส.ส. กันแน่) สจ. (หรือ ส.จ. กันแน่) สว. (หรือ ส.ว. กันแน่)
ม.ล. (มล. หรือ มล) ม.ร.ว. (มรว. หรือ มรว) รมว. รมช.
รมต. (เดี๋ยวนี้ ไม่เห็นแล้ว เพราะเห็นหนังสือพิมพ์ใช้ คำ รมว. แทน) ฯลฯ

แหม หนูจูเลียน่า ถามดีจริง ๆ คำถามอันนี้ รับรองหาคำตอบได้ยากแฮะ ผมว่า เราคนไทยเขียนมั่วไปเรื่อยไม่มีหลักเกณฑ์อะไรมากำกับ ตามความคิดของผมนะครับ เดิมภาษาไทยเราคงไม่ใช้คำย่อกัน จึงไม่เคยเห็น กฏระเบียบในการใช้คำย่อ แต่ต่อมาเริ่มใช้คำย่อขึ้น โดยเริ่มต้นจากการใช้คำย่อ สำหรับยศตำแหน่งตำรวจ ทหาร ราชวงศ์ เพศ เป็นต้น ผมคิดว่า ตอนแรก ก็มีจุดระหว่างอักษรทุกตัวเลย แต่ระยะหลังก็ มีการย่อชื่อขององค์การ พรรค สำนักงาน ซึ่งมีความยาวมากขึ้นก็เลย ทำลืมจุดเสียบ้าง เพราะคนไทยชอบตัดของยาว ๆ ให้มันสั้นลง หรืออาจจะ เขียนย่อตามฝรั่งก็ได้ เพราะฝรั่งไม่ใช้จุดระหว่างอักษรของคำย่อ ระยะนี้ ก็เลยมั่วไปหมด แล้วแต่จะเขียนกัน ผมเองก็ไม่ค่อยได้สังเกตสังกาเกี่ยวกับ เรื่องนี้เท่าไร ก็เลยเขียนมั่วไปด้วย แหะ แหะ

ผมว่า พวกเรามาปฏิรูปเสียใหม่ให้หมดดีกว่า จะได้มีกฏเกณฑ์กันเสียที โดย ให้มีจุดหลังอักษรตัวท้ายเท่านั้น เช่น ดช. (เด็กชาย) ดญ.(เด็กหญญิง) รร. (โรงเรียน) ททบ. (โทรทัศน์กองทัพบก) มรว. (หม่อมราชวงศ์) พอ. (พันเอก) พคท. (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) พกง. (พนักงานเก็บเงิน) เป็นต้น แต่ พล.ต. (พลตรี) พล.อ. ต้องมีจุดอยู่ข้างหลัง พล นะครับ ต้องยกเว้นเป็นพิเศษ เพราะนายพลนั้นยิ่งใหญ่ ก็เลยมีข้อยกเว้นเรื่อยไป แหะ แหะ ถ้าไม่มีจุด
ก็จะต้องอ่านว่า พ ล ต ไม่ใช่ พล ต นอกนั้นก็มีจุดเดียวหลังอักษรตัวท้ายก็พอ

ความจริง จุด (จุดมหัพภาค) นี้ ควรจะเป็นจุดที่เขียนลงหลังมุขยประโยค เช่นเดียวกับจุดลูกน้ำ (จุดจุลภาค) ซึ่งใช้เขียนระหว่างมุขยประโยคกับ อนุประโยค หรือวลี หากเราเขียนภาษาไทยโดยใช้จุดจุลภาคกับมหัพภาคแล้ว อาจจะทำให้พวกเราอ่านภาษาไทยแล้วมีความเข้าใจแจ่มแจ้งตามที่ผู้เขียนต้องการให้เราเข้าใจก็ได้ จะสังเกตได้ว่า บ่อยครั้งที่เราอ่านภาษาไทยแล้วไม่เข้าใจ หรือตีความได้ไม่แน่นอน แม้จะอ่านแล้วอ่านอีกสักกี่ครั้งก็ตาม ซึ่งผิดกับภาษาอังกฤษ์ที่ใช้จุดจุลภาค และ มหัพภาคตลอดเวลา บางครั้งเราอ่านไม่เข้าใจ แต่ถ้าพิจารณาถึงความ เชื่อมต่อของมุขยประโยค (main sentence)กับ อนุประโยค(cluase) หรือวลี (phrase) แล้ว จะทำให้เข้าใจได้

มีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงพยายามแนะนำให้คนไทยเขียนภาษาไทยโดยใช้จุดมหัพภาคและจุลภาค พระองค์ได้ทรงลิขิต (ผมอยากจะใช้คำว่า ทรงเขียน) หนังสือ หรือบทความ (ผมจำไม่ได้) โดยใช้จุดทั้งสองโดยตลอด ผมเคยไปนั่งอ่านอยู่ครั้งหนึ่งที่
สมุดแห่งชาติ อ่านแล้วได้ความชัดเจนไม่มีความสงสัยในความหมายของ ประโยคเลย แต่เป็นที่น่าเสียดาย ความพยายามของพระองค์กลับไม่ประสบผลสำเร็จ หนังสือหรือบทความที่ว่านี้ ก็ยังคงมีอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติแน่ ๆ ผมก็จำไม่ได้ว่า หนังสือชื่ออะไร แต่เป็นหนังสือประเภทหนังสือหายากของห้องสมุด แล้วลุงอ่ำ และลุงภา ละครับ เคยเห็นกฎเกณฑ์การใช้เจ้าตัว จุด นี้บ้าง หรือเปล่า

ตัวอย่าง
..พ.ร.บ.ประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน  พ.ศ. ....ถ้ากฎหมายฉบับนี้ผ่านออกมาบังคับใช้โดยมีสาระสำคัญในลักษณะเดียวกับร่าง กฎหมาย  จะทำให้เจตนารมณ์ในการตัดตั้งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ( คตง.) ถูกบิดเบือนไปจากรัฐธรรมนูญเพราะมีการขยายอาณาจักรและอำนาจของ คตง.และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ( สตง.) ในด้านการปราบปรามการทุจริตเช่นเดียวกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) จนอำนาจล้นฟ้า...”
           ( แหล่งข้อมูล : บทความเรื่อง สตง.อำนาจล้นฟ้า เขียนโดย ประสงค์  วิสุทธิ์  ลงในนสพ.มติชนรายวัน  ฉบับวันอาทิตย์ที่ 24  พฤษภาคม  พ.ศ. 2552 )
         จากเนื้อหาบทความข้างต้น  จะเห็นได้ว่าหน่วยงานราชการไทยมีการบัญญัติชื่อและตัวอักษรย่อออกมาหลาย หน่วยงาน  การย่อชื่อก็มีการใช้จุด ( . ) บางคำก็จุดระหว่างพยัญชนะ  บางคำก็หลังพยัญชนะแตกต่างกันออกไป    เพื่อเป็นการเข้าใจในหลักการใช้ตัวย่อให้ตรงกัน   จึงขอนำเสนอหลักการใช้ตัวย่อ  ดังนี้
  
     อักษรย่อ คือ อักษรที่ใช้แทนคำหรือข้อความเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสาร
ลักษณะของอักษรย่ออาจจะเป็นอักษรตัวเดียว อักษรสองตัว หรือมากกว่านั้น แล้วมีจุดหนึ่ง
จุด (มหัพภาค) ข้างหลัง หรือจุดระหว่างตัวอักษรแล้วแต่การกำหนด
                
   การเขียนอักษรย่อของคำต่าง ๆ มีวิธีการและหลักการซึงราชบัณฑิตยสถาน โดย
“คณะกรรมการ กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย” ได้กำหนดไว้
ดังนี้
           ๑. ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์แรกของคำเป็นตัวย่อ

               ๑.๑  ถ้าเป็นคำคำเดียวให้ใช้ย่อตัวเดียว แม้ว่าคำนั้นจะมีหลายพยางค์ก็ตาม
                      ตัวอย่าง      วา = ว.
                                       จังหวัด = จ.
                                       ๓.๐๐ นาฬิกา = ๓.๐๐ น.
                                       ศาสตราจารย์ = ศ.

               ๑.๒ ถ้าใช้ตัวย่อเพียงตัวเดียวแล้วทำให้เกิดความสับสนอาจใช้พยัญชนะต้นของ
คำถัดไปเป็นตัวย่อด้วยก็ได้
                     ตัวอย่าง  ตำรวจ = ตร.
                                  อัยการ = อก.

           ๒. ถ้าเป็นคำสมาสให้ถือเป็นคำคำเดียว และใช้พยัญชนะต้นของพยางค์แรกเพียง
ตัวเดียว
                ตัวอย่าง  มหาวิทยาลัย = ม.
                            วิทยาลัย = ว.

           ๓. ถ้าเป็นคำประสม ใช้พยัญชนะต้นของแต่ละคำ
               ตัวอย่าง   ชั่วโมง = ชม.
                             โรงเรียน = รร.

           ๔. ถ้าคำประสมประกอบด้วยคำหลายคำไม่ความยาวมาก อาจเลือกเฉพาะพยัญชนะตนของคำที่เป็นใจความสำคัญ ทั้งนี้ไม่ควรเกิน ๔ ตัว

ตัวอย่าง  
     คณะกรรมการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ = กปร.
     สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ = สปช.
ความสอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ ๓ - ๔ 
    
        มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ 
         มาตรฐาน ท ๔.๑  เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

 ประเด็นคำถามสู่การอภิปรายในชั้นเรียน
๑. ความหมายของอักษรย่อ
๒. ความสำคัญของอักษรย่อ
๓. หลักการใช้อักษรย่อ
๔. อักษรย่อที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

กิจกรรมพัฒนาทักษะ
๑. ศึกษาค้นคว้าหลักใช้อักษรย่อ
๒. แสดงความคิดเห็นการใช้อักษรย่อ
๓. รวบรวมอักษรย่อที่เกี่ยวข้องกับการเมือง
๔. รวบรวมอักษรย่อที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

ลองทบทวนความรู้ขอให้เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. ข้อใดเขียนอักษรย่อไม่ถูกต้อง
ก. อส.มท. (องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย) ข. สวญ. (สารวัตรใหญ่) ค. ป.ล. (ปัจฉิมลิขิต) ง. รมต. (รัฐมนตรี) ตอบ >>>> ข้อ ก >>>> อ.ส.ม.ท.
2. ภาษีเงินได้ เป็นอักษรย่อว่าอย่างไร ก. ภงด.  ข. ภง.ด  ค. ภ.ง.ด.  ง. ภ.งด. ตอบ >>>> ข้อ
3. คณะกรรมการบริหารวิทยุโทรทัศน์ เขียนอักษรย่อว่าอย่างไร ก. ค.บ.ว.  ข. ก.บ.ว.ท.  ค. ก.ว.บ.  ง. ก.บ.ว. ตอบ >>>> ข้อ
4. ข้อใดไม่ใช่อักษรย่อเกี่ยวกับวุฒิทางการศึกษา ก. อ.บ.  ข. ก.พ.  ค. พ.ม.  ง. ปวท.ตอบ >>>> ข้อ
5. ข้อใดเป็นอักษรย่อของกระทรวงศึกษาธิการ ก. กศ.  ข. กธ.  ค. ศก.  ง. ศธ. ตอบ >>>> ข้อ
6. ข้อใดเขียนอักษรย่อไม่ถูกต้อง ก. ขสมก. (องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ) ข. รสพ. (องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์) ค. ทสปช. (ไทยอาสาป้องกันชาติ) ง. ปปป. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ) ตอบ >>>> ข้อ
7. "เรืออากาศเอก" ย่อมาจากคำเต็มว่าอะไร ก. ร.อ.  ข. ร.อ.อ.  ค. ร.อ. … ร.น.  ง. ร.อ.ก.อ.
ตอบ >>>> ข้อ
8. "รมช" ย่อมาจากคำเต็มว่าอะไร ก. หน่วยเร่งรัดพัฒนาฝีมือแรงงานในชนบท  ข. ชมรมร่วมมือพัฒนาชนบท ค. องค์การเร่งรัดพัฒนาชนบท  ง. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงตอบ >>>> ข้อ
9. "วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต" เขียนอักษรย่อได้ว่าอย่างไร ก. วท.บ.  ข. วท.ม.  ค. วศ.ม.  ง. วศ.บ.
ตอบ >>>> ข้อ
10. อักษรย่อข้อใดเขียนผิด ก. ร.ศ. (รองศาสตราจารย์)  ข. จ.ศ. (จุลศักราช) ค. ม.ศ. (มหาศักราช)  ง. พ.ศ. (พุทธศักราช) ตอบ >>>> ข้อ
เว็บราชบัณฑิตยสถาน
The Royal Institute
http://www.royin.go.th/th/home/index.php
เอกสารจากราชบัณฑิตยสถาน ตอบแพทยสภา รถ 0004/7324 ลงวันที่ 11 มกราคม 2537 เรื่อง การใช้อักษรย่อ แจ้งว่าตำแหน่งทางวิชาการมี..กว้างขวาง จึงขอแจ้งเฉพาะตำแหน่งที่มีในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พศ.2536 ดังนี้
นายแพทย์ ( นพ.) แพทย์หญิง ( พญ. ) ศาสตราจารย์ ( ศ. ) ศาสตราจารย์พิเศษ ( ศ. ) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ( ศ. ) รองศาสตราจารย์ ( รศ. )
รองศาสตราจารย์พิเศษ ( รศ. ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ( ผศ. ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ ( ผศ. )
การใช้อักษรย่อของคำ สัตวแพทย์ สัตวแพทย์หญิง นายสัตวแพทย์
????????? เนื่องจากคำนำหน้านามเกี่ยวกับวิชาชีพสัตวแพทย์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันยัง มีความลักลั่น กล่าวคือ คำว่า “นายสัตวแพทย์”hมีทั้งที่ใช้อักษรย่อว่า สพ. นสพ. น.สพ. คำว่า “สัตวแพทย์หญิง”h?มีทั้งที่ใช้อักษรย่อว่า สพญ. สพ.ญ. และโดยที่ราชบัณฑิตยสถานได้เคยกำหนดคำย่อของ นายสัตวแพทย์ ว่า สพ. จึงมีผู้ท้วงติงและให้ข้อมูลเรื่องการใช้อักษรย่อดังกล่าวจากผู้ที่อยู่ใน แวดวงวิชาชีพสัตวแพทย์ว่า อักษรย่อ สพ. ใช้กับสัตวแพทย์ทั้งชายและหญิงที่จบประกาศนียบัตร แต่ถ้าเป็นสัตวแพทย์ปริญญาที่เป็นชาย เรียกว่า นายสัตวแพทย์ ใช้อักษรย่อว่า? น.สพ.? ส่วนสัตวแพทย์หญิง ใช้อักษรย่อว่า สพ.ญ.
????????? ราชบัณฑิตยสถาน โดยคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย จึงได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวและได้สอบถามข้อมูลจากกรมปศุสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกทางหนึ่ง ได้ความตรงตามที่มีผู้ทักท้วงมาและเพื่อมิให้การใช้อักษรย่อของคำว่า นายสัตวแพทย์ สัตวแพทย์หญิง และ สัตวแพทย์ มีความลักลั่นและสื่อความหมายได้ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง โดยที่หลักเกณฑ์การย่อคำให้ใช้พยัญชนะต้นของแต่ละพยางค์ แล้วรวบจุดหลังพยัญชนะตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว คำ นายแพทย์ แพทย์หญิง จึงย่อว่า นพ. และ พญ. คำว่า ทันตแพทย์ ทันตแพทย์หญิง ย่อว่า ทพ. และ ทพญ. คำว่า เภสัชกร เภสัชกรหญิง ย่อว่า ภก. และ ภกญ. คำว่า เทคนิคการแพทย์ เทคนิคการแพทย์หญิง ย่อว่า ทนพ. และ ทนพญ. คำว่า พยาบาล พยาบาลชาย ย่อว่า พย. และ พยช. ตามลำดับ
????????? คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย? แห่งราชบัณฑิตยสถาน? จึงได้มีมติให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันนี้ในการย่อคำว่า นายสัตวแพทย์ สัตวแพทย์หญิง และสัตวแพทย์ กล่าวคือ
????????? คำว่า สัตวแพทย์ (สัตวแพทย์ทั้งชายและหญิงที่จบประกาศนียบัตร) ให้ใช้ว่า สพ.
????????? คำว่า นายสัตวแพทย์ (สัตวแพทย์ปริญญาที่เป็นชาย)? ให้ใช้ว่า นสพ.
????????? คำว่า สัตวแพทย์หญิง (สัตวแพทย์ปริญญาที่เป็นหญิง) ให้ใช้ว่า สพญ.
????????? เพื่อให้เข้าชุดกับอักษรย่อของคำอื่น ๆ ดังกล่าวข้างต้น การย่อคำว่า นายสัตวแพทย์ แม้ว่าจะไปเหมือนกับการใช้อักษรย่อของคำว่า หนังสือพิมพ์ คือใช้ว่า นสพ. แต่การสื่อความต้องอาศัยบริบทหรือข้อความที่อยู่แวดล้อม ซึ่งจะทำให้ทราบได้ว่าอักษรย่อ นสพ. ในกรณีนั้น ๆ หมายถึงคำใด.
ผู้เขียน : นางสาวสุปัญญา? ชมจินดา นักวรรณศิลป์ ๗ ว. กองศิลปกรรม
ที่มา : จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๒๔ กันยายน ๒๕๔๔
หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ
๑. ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์แรกของคำเป็นตัวย่อ
???? ๑.๑ ถ้าเป็นคำคำเดียวให้ใช้ตัวย่อตัวเดียว แม้ว่าคำนั้นจะมีหลายพยางค์ก็ตาม
ตัวอย่าง
??????????? (๑) ๕ วา = ๕ ว.
??????????? (๒) จังหวัด = จ.
??????????? (๓) ๓.๐๐ นาฬิกา = ๓.๐๐ น.
??????????? (๔) ศาสตราจารย์ = ศ.
???? ๑.๒ ถ้าใช้ตัวย่อเพียงตัวเดียวแล้วทำให้เกิดความสับสน อาจใช้พยัญชนะต้นของคำถัดไปเป็นตัวย่อด้วยก็ได้
ตัวอย่าง
??????????? (๑) ทหารบก = ทบ.
??????????? (๒) ตำรวจ = ตร.
??????????? (๓) อัยการ = อก.
๒. ถ้าเป็นคำสมาสให้ถือเป็นคำคำเดียว และใช้พยัญชนะต้นของพยางค์แรกเพียงตัวเดียว
ตัวอย่าง
??????????? (๑) มหาวิทยาลัย = ม.
??????????? (๒) วิทยาลัย = ว.
๓. ถ้าเป็นคำประสม ใช้พยัญชนะต้นของแต่ละคำ
ตัวอย่าง
??????????? (๑) ชั่วโมง = ชม.
??????????? (๒) โรงเรียน = รร.
๔. ถ้าคำประสมประกอบด้วยคำหลายคำ มีความยาวมาก อาจเลือกเฉพาะพยัญชนะต้นของคำที่เป็นใจความสำคัญ ทั้งนี้ไม่ควรเกิน ๔ ตัว
ตัวอย่าง
??????????? (๑) คณะกรรมการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ = กปร.
??????????? (๒) สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ = สปช.
๕. ถ้าใช้พยัญชนะต้นของแต่ละคำแล้วทำให้เกิดความสับสน ให้ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไปแทน
ตัวอย่าง
??????????? (๑) พระราชกำหนด = พ.ร.ก.
??????????? (๒) พระราชกฤษฎีกา = พ.ร.ฎ.
๖. ถ้าพยางค์ที่มี ห เป็นอักษรนำ เช่น หญ หล ให้ใช้พยัญชนตัวที่ออกเสียงเป็นตัวย่อ
ตัวอย่าง
??????????? (๑) สารวัตรใหญ่ = สวญ.
??????????? (๒) ทางหลวง = ทล.
๗. คำที่พยัญชนะต้นเป็นอักษรควบกล้ำหรืออักษรนำ ให้ใช้อักษรตัวหน้าตัวเดียว
ตัวอย่าง
??????????? (๑) ประกาศนียบัตร = ป.
??????????? (๒) ถนน = ถ.
??????????? (๓) เปรียญ = ป.
๘. ตัวย่อไม่ควรใช้สระ ยกเว้นคำที่เคยใช้มาก่อนแล้ว
ตัวอย่าง
??????????? (๑) เมษายน = เม.ย.
??????????? (๒) มิถุนายน = มิ.ย.
??????????? (๓) เสนาธิการ = เสธ.
??????????? (๔) โทรศัพท์ = โทร.
๙. ตัวย่อต้องมีจุดกำกับเสมอ ตัวย่อตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไปให้จุดที่ตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว ยกเว้นตัวที่ใช้กันมาก่อนแล้ว
ตัวอย่าง
??????????? (๑) ตำบล = ต.
??????????? (๒) รองศาสตราจารย์ = รศ.
??????????? (๓) พุทธศักราช = พ.ศ.
๑๐. ให้เว้นวรรคเล็กหน้าตัวย่อทุกแบบ
ตัวอย่าง
??????????? (๑) ประวัติของ อ.พระนครศรีอยุธยา
??????????? (๒) มีข่าวจาก กทม.ว่า
๑๑. ให้เว้นวรรคระหว่างกลุ่มอักษรย่อ
ตัวอย่าง
??????????? (๑) ศ. นพ.
??????????? (๒) รศ. ดร.
๑๒. การอ่านคำย่อ ต้องอ่านเต็ม
ตัวอย่าง
??????????? (๑) ๐๕.๐๐ น. อ่านว่า ห้า-นา-ลิ-กา
??????????? (๒) อ.พระนครศรีอยุธยา อ่านว่า อำ-เพอ-พระ-นะ-คอน-สี-อะ-ยุด-ทะ-ยา
ยกเว้นกรณีที่คำเต็มนั้นยาวมากและคำย่อนั้นเป็นยอมรับกันทั่วไปแล้ว อาจอ่านตัวย่อเรียงตัวไปก็ได้
ตัวอย่าง
??????????? ก.พ. อ่านว่า กอ-พอ
อักษรย่อคำนำหน้านาม

ดอกเตอร์ ดร.
เด็กชาย ด.ช.
เด็กหญิง ด.ญ.
ทันตแพทย์ ทพ.
ทันตแพทย์หญิง ทพญ.
เทคนิคการแพทย์ ทนพ.
เทคนิคการแพทย์หญิง ทนพญ.
นางสาว น.ส.
นายแพทย์ นพ.
นายสัตวแพทย์ นสพ. (ผู้จบปริญญา)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผศ.
แพทย์หญิง พญ.
เภสัชกร ภก.
เภสัชกรหญิง ภกญ.
รองศาสตราจารย์ รศ.
ศาสตราจารย์ ศ.
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ศ.
ศาสตราจารย์พิเศษ ศ.
สัตวแพทย์ สพ. (ผู้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตร ทั้งชายและหญิง)
สัตวแพทย์หญิง สพญ. (ผู้จบปริญญา)
สารวัตรใหญ่ สวญ.
เสนาธิการ เสธ.
หม่อมเจ้า ม.จ.
หม่อมราชวงศ์ ม.ร.ว.
หม่อมหลวง ม.ล.
อักษรย่อชื่อเดือน

มกราคม ม.ค.
กุมภาพันธ์ ก.พ.
มีนาคม มี.ค.
เมษายน เม.ย.
พฤษภาคม พ.ค.
มิถุนายน มิ.ย.
กรกฎาคม ก.ค.
สิงหาคม ส.ค.
กันยายน ก.ย.
ตุลาคม ต.ค.
พฤศจิกายน พ.ย.
ธันวาคม ธ.ค.

อักษรย่อหน่วยชั่งตวงวัด
กรัม
ก.

กิโลกรัม
กก.

กิโลเมตร
กม.

กิโลลิตร
กล.

เซนติกรัม
ซก.

เซนติเกรด
ซ.

เซนติเมตร
ซม.

เซนติลิตร
ซล.

เดคากรัม
ดคก.

เดคาเมตร
ดคม.

เดคาลิตร
ดคล.

เดซิกรัม
ดก.

เดซิเมตร
ดม.

เดซิลิตร
ดล.

ตาราง
ตร.

ตารางกิโลเมตร
ตร.กม.

ตารางเมตร
ตร.ม.

ตารางวา
ตร.ว.

มิลลิกรัม
มก.

มิลลิเมตร
มม.

มิลลิลิตร
มล.

เมตร
ม.

เมตริกตัน
ต.

ลิตร
ล.

ลูกบาศก์
ลบ.

ลูกบาศก์เมตร
ลบ.ม.

วา
ว.

เฮกโตกรัม
ฮก.

เฮกโตเมตร
ฮม.

เฮกโตลิตร
ฮล.

พระปรมาภิไธยย่อ

รัชกาล คำย่อ คำเต็ม
รัชกาลที่ ๑ จปร มหาจักรีบรมนาถ ปรมราชาธิราช
รัชกาลที่ ๒ อปร มหาอิศรสุนทร ปรมราชาธิราช’
รัชกาลที่ ๓ จปร มหาเจษฎาบดินทร ปรมราชาธิราช
รัชกาลที่ ๔ มปร มหามงกุฎ ปรมราชาธิราช
รัชกาลที่ ๕ จปร มหาจุฬาลงกรณ ปรมราชาธิราช
รัชกาลที่ ๖ วปร มหาวชิราวุธ ปรมราชาธิราช
รัชกาลที่ ๗ ปปร มหาประชาธิปก ปรมราชาธิราช
รัชกาลที่ ๘ อปร มหาอานันทมหิดล ปรมราชาธิราช
รัชกาลที่ ๙ ภปร มหาภูมิพลอดุลยเดช ปรมราชาธิราช
ที่มา : หนังสือหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๖? หน้า ๖๗-๗๐
นักวรรณศิลป์ของราชบัณฑิตยสถานได้รวบรวมคำย่อที่มีผู้สอบถามบ่อยมาเผยแพร่ดังรายการที่ปรากฏในหน้านี้และหน้าต่อ ๆ ไป  ท่านสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๖๖-๗๐,    ส่งคำถามทางเว็บบอร์ด,  ส่งคำถามทางหัวข้อ "ติดต่อเรา"   หรือติดต่อทาง e-mail :   ripub@royin.go.th
PR
この記事にコメントする
お名前
タイトル
メール
URL
コメント
文字色
パスワード   Vodafone絵文字 i-mode絵文字 Ezweb絵文字
secret
この記事へのトラックバック
この記事にトラックバックする:
  • ABOUT
ブログ2
Copyright © タイ語メモ All Rights Reserved.*Powered by NinjaBlog
Graphics By R-C free web graphics*material by 工房たま素材館*Template by Kaie
忍者ブログ [PR]