หนูนะไม่ใช่อีหนู
http://intranet.prd.go.th/journal/content.php?No=1871
พูดไทยเขียนไทยฉบับที่แล้ว อักษราบอกไว้ว่าจะพาสัตว์สี่ขาตัวเล็ก ๆ สัญลักษณ์ของปีชวดมราให้ชาวกรมประชาสัมพันธ์ได้รู้จักกัน เป็นเรื่องของหนูจริง ๆ นะไม่ใช่อีหนูของใครหลาย ๆ คน อ้าว...วกมาเข้าเรื่องนี้เห็นจะไม่เข้าท่าเสียแล้ว กลับเข้าเรื่องกันดีกว่า
แม้หนูนะไม่ใช่สัตว์เลี้ยง แต่หนูก็ป้วนเปี้ยนอยู่แถวบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของคน คนไม่เลี้ยงหนู หนูจึงต้องแบขโมยอาหารของคน แต่ถ้าบังเอิญหนูตกลงไปในถังข้าวสารก็เท่ากับว่าหนูได้แหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ สำนวน "หนูตกถังข้าวสาร"จึงหมายถึง ผู้ชายที่มีฐานไม่ค่อยดีได้แต่งงานกับผู้หญิงฐานะดี หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ผู้ชายยากจนได้ภรรยาร่ำรวยนั่นเอง
หนูตกถังข้าวสารเป็นหนูโชคดี แต่ถ้าหนูโชคร้ายไปติดจั่นซึ่งเป็นอุปกรณ์ดักสัตว์ เข้าไปแล้วจะหาทางออกไม่ได้ สำนวน "หนูติดจั่น"จึงหมายถึง จนปัญญาวนเวียนหาทางออกไม่ได้
นอกจากนั้นคนโบราณยังมีสำนนวนเปรียบที่เกี่ยวกับหนูอีกสำนวนหนึ่งว่า "เอาเนื้อหนูไปปะเนื้องช้าง" หมายถึง เอาทรัพย์หรือสิ่งของจากคนยากจนหรือผู้ที่มีน้อยไปให้แก่ผู้ที่มีมากกว่า จะเห็นได้ว่าคนโบราณช่างคิดเปรียบเทียบ ฟังแล้วนึกเห็นภาพทันทีว่า ทำไปก็ไม่เกิดอะไรดีขึ้นเลย
คนสมัยก่อนเลี้ยงแมวไว้จับหนู อันที่จริงสัตว์ที่แมวชอบจับมีอยู่หลายชนิด เช่น จิ้งจก หนู นก แต่ดูเหมือนหนูจะเป็นสัตว์ที่คนนำมาพูดคู่กับแมวมากที่สุด ที่เล่ากันเป็นเรื่องเป็นราวทั้งของไทยและของต่างชาติก็มีอยู่หลายเรื่อง เมื่อพูดถึงหนูกับแมว หนูมักจะเป็นผู้ถูกล่า และแสวเป็นผู้ล่า ดังนั้นหนูจึงกลัวแมว เมื่อแวไม่อยู่หนูจึงมีความสุข ดังสำนวนที่ว่า "แมวไม่อยู่หนูละเลิง" บางคนพูดเพี้ยนไปเป็น "แมวไม่อยู่หนูระเริง" คำว่า "ระเริง" หมายถึง บันเทิงใจจนเกินไป ส่วนคำว่า "ละเลิง" หมายถึง เหลิงจนลืมตัวเพราะลำพองหรือคึกคะนอง ซึ่งตรงกับความหมายที่ใช้กันมาในสำนวนนี้มากกว่า
สำนวนแมวไม่อยู่หนูละเลิง ใช้ในความหมายว่า เมื่อผู้ใหญ่ไม่อยู่ผู้น้อยก็เหลิง ลำพอง คึกคะนอง บางครั้งยังมีข้อความต่อท้ายอีกว่า "แมวมาหลังคาเปิง" นอกจากนั้นการเปรียบที่นำเอาความกลัวของหนูที่มีต่อแมวยังนำมากล่าวถึงผู้ที่มีความเกรงกลัวกันว่า "เป็นหนูกับแมว" หรือ "เหมือนหนูกับแมว"อีกด้วย<
สำนวนที่เกี่ยวกับหนูและแมวยังมีอีกสำนวนหนึ่ง คือ "แกงจึดจึงรู้คุณเกลือ หนูกัดเสื้อจึงรู้คุณแมว" ตามปกติเกลือเป็นของธรรมดา ๆ ราคาถูก หาซื้อได้ทั่วไป คนจึงไมค่อยได้คิดถึงคุณค่าของเกลือ แต่พอไม่มีเกลือ อาหารที่ปรุงจะมีรสจืดชืด ถ้าได้เกลือเติมลงไปสักนิด อาหารก็จะมีรสชาติดีขึ้น ทำนองเดียวกับแมวซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้าน เห็นหนูเป็นไม่ได้ต้องไล่ตะครุบจับฆ่าเสียเป็นประจำ บ้านใดมีแมวจึงไมี่ค่อยมีหนู แต่คนไม่ค่อยใส่ในในเรื่องนี้มากนัก เพราะห็นเป็นเรื่องธรรมดา ต่อเมื่อไม่มีแมวคอยจับหนู และหนูมากัดเสื้อผ้าข้าวของเสียหาย จึงเริ่มคิดได้ว่า เพราะขาดแมวมาคอยจับหนูนั่นเอง สำนวนแกงจืดจึงรู้คุณเกลือ หนูกัดเสื้อจึงรู้คุณแมว จึงหมายถึง สิ่งที่มีคุณค่าอยู่ในตัวเอง แต่คนมองไม่เห็นคุณค่าหรือความสำคัญของมันต่อเมื่อขาดสิ่งนั้นไปจึงตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งนั้น
อะไรเอ่ย "นกมีหู หนูมีปีก" ปัญหานี้ใช้ทายกันมาตั้งแต่ดั้งเดิม คนส่วนใหญ่ทราบคำตอบกันอยู่แล้วว่า คือ "ค้างคาว" มีนิทานเล่าถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดนี้ว่า ใช้ลักษณะร่างกายของตนเวลาต้องการเข้าพวกกับสัตว์ชนิดอื่น เมื่ออยู่กับนกค้างคาวก็แสดงตนว่ามีปีกจึงเป็นพวกนก แต่พวกนกก็เห็นความแตกต่างตรงที่ค้างคาวมีใบหู ครั้งเข้าไปในกลุ่มนี้ค้างคาวก็แสดงตนว่ามีใบหูเหมือนหนู แต่ปีกของค้างคาวก็ทำให้พวกหนูสังเกตได้ว่าไม่ใช่พวกของตน ดังนั้นสำนวนว่า "นกมีหู หนูมีปีก" จึงใช้ในความหมายว่า กลับกลอกว่าเป็นพวกทั้งสองฝ่าย สำนวนนกมีหูหนูมีปีกนี้ แม้มีคำว่า "หนู" อยู่ด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายถึงสัตว์ประเภทหนูโดยตรง
สำนวนลักษณะนี้ยังมีที่น่าสนใจอีกสำนวนหนึ่ง แม้ในปัจจุบันไม่ค่อยจะมีผู้ใช้แล้ว แต่น่าจะทราบไว้เพราะเป็นสำนวนเก่า สำนวนนั้นคือ "จรกาหน้าหนู" จรกาเป็นตัวละครในบทละครเรื่องอิเหนา ขณะที่จรกาตามเสด็จท้าวดาหาไปรับใช้ที่บนเขาวิลิศมาหรา เวลาพวกผู้ชายที่ตามเสด็จเล่นกันสนุกสนาน จรกาซึ่งเป็นระตูมิหนำซ้ำยังรูปชั่วตัวดำเข้าพวกไม่ได้สนิทใจมักจะอยู่คนเดียว สำนวนจรกาหน้าหนู จึงหมายถึงผู้ที่ไม่เข้าพวกกับผู้อื่น เวลาเขาเล่นกันสนุกสนานจะเป็นเพราะเข้ากับเขาไม่ได้ หรือไม่อยากเข้าพวกกับเขาก็ได้ทั้งสองอย่าง บางครั้งจึงใช้เป็นสำนวนว่า "จรกาหน้าหนูอยู่คนเดียว"
เรื่องราวของหนูในสำนวนไทยยังมีอีกมาก อักษรานำมาเขียนให้ได้อ่านกันพอเป็นตัวอย่าง ชาวกรมประชาสัมพันธ์ที่อยากรู้เรื่องราวของหนูในสำนวนไทย ก็ขอให้หาหนังสือสำนวนไทยมาอ่านกันต่อ พูดไทยเขียนไทยฉบับหน้าอักษราจะพาสัตว์สัญลักษณ์ของปีฉลูมาให้รู้จักกัน
http://intranet.prd.go.th/journal/content.php?No=1871
พูดไทยเขียนไทยฉบับที่แล้ว อักษราบอกไว้ว่าจะพาสัตว์สี่ขาตัวเล็ก ๆ สัญลักษณ์ของปีชวดมราให้ชาวกรมประชาสัมพันธ์ได้รู้จักกัน เป็นเรื่องของหนูจริง ๆ นะไม่ใช่อีหนูของใครหลาย ๆ คน อ้าว...วกมาเข้าเรื่องนี้เห็นจะไม่เข้าท่าเสียแล้ว กลับเข้าเรื่องกันดีกว่า
แม้หนูนะไม่ใช่สัตว์เลี้ยง แต่หนูก็ป้วนเปี้ยนอยู่แถวบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของคน คนไม่เลี้ยงหนู หนูจึงต้องแบขโมยอาหารของคน แต่ถ้าบังเอิญหนูตกลงไปในถังข้าวสารก็เท่ากับว่าหนูได้แหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ สำนวน "หนูตกถังข้าวสาร"จึงหมายถึง ผู้ชายที่มีฐานไม่ค่อยดีได้แต่งงานกับผู้หญิงฐานะดี หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ผู้ชายยากจนได้ภรรยาร่ำรวยนั่นเอง
หนูตกถังข้าวสารเป็นหนูโชคดี แต่ถ้าหนูโชคร้ายไปติดจั่นซึ่งเป็นอุปกรณ์ดักสัตว์ เข้าไปแล้วจะหาทางออกไม่ได้ สำนวน "หนูติดจั่น"จึงหมายถึง จนปัญญาวนเวียนหาทางออกไม่ได้
นอกจากนั้นคนโบราณยังมีสำนนวนเปรียบที่เกี่ยวกับหนูอีกสำนวนหนึ่งว่า "เอาเนื้อหนูไปปะเนื้องช้าง" หมายถึง เอาทรัพย์หรือสิ่งของจากคนยากจนหรือผู้ที่มีน้อยไปให้แก่ผู้ที่มีมากกว่า จะเห็นได้ว่าคนโบราณช่างคิดเปรียบเทียบ ฟังแล้วนึกเห็นภาพทันทีว่า ทำไปก็ไม่เกิดอะไรดีขึ้นเลย
คนสมัยก่อนเลี้ยงแมวไว้จับหนู อันที่จริงสัตว์ที่แมวชอบจับมีอยู่หลายชนิด เช่น จิ้งจก หนู นก แต่ดูเหมือนหนูจะเป็นสัตว์ที่คนนำมาพูดคู่กับแมวมากที่สุด ที่เล่ากันเป็นเรื่องเป็นราวทั้งของไทยและของต่างชาติก็มีอยู่หลายเรื่อง เมื่อพูดถึงหนูกับแมว หนูมักจะเป็นผู้ถูกล่า และแสวเป็นผู้ล่า ดังนั้นหนูจึงกลัวแมว เมื่อแวไม่อยู่หนูจึงมีความสุข ดังสำนวนที่ว่า "แมวไม่อยู่หนูละเลิง" บางคนพูดเพี้ยนไปเป็น "แมวไม่อยู่หนูระเริง" คำว่า "ระเริง" หมายถึง บันเทิงใจจนเกินไป ส่วนคำว่า "ละเลิง" หมายถึง เหลิงจนลืมตัวเพราะลำพองหรือคึกคะนอง ซึ่งตรงกับความหมายที่ใช้กันมาในสำนวนนี้มากกว่า
สำนวนแมวไม่อยู่หนูละเลิง ใช้ในความหมายว่า เมื่อผู้ใหญ่ไม่อยู่ผู้น้อยก็เหลิง ลำพอง คึกคะนอง บางครั้งยังมีข้อความต่อท้ายอีกว่า "แมวมาหลังคาเปิง" นอกจากนั้นการเปรียบที่นำเอาความกลัวของหนูที่มีต่อแมวยังนำมากล่าวถึงผู้ที่มีความเกรงกลัวกันว่า "เป็นหนูกับแมว" หรือ "เหมือนหนูกับแมว"อีกด้วย<
สำนวนที่เกี่ยวกับหนูและแมวยังมีอีกสำนวนหนึ่ง คือ "แกงจึดจึงรู้คุณเกลือ หนูกัดเสื้อจึงรู้คุณแมว" ตามปกติเกลือเป็นของธรรมดา ๆ ราคาถูก หาซื้อได้ทั่วไป คนจึงไมค่อยได้คิดถึงคุณค่าของเกลือ แต่พอไม่มีเกลือ อาหารที่ปรุงจะมีรสจืดชืด ถ้าได้เกลือเติมลงไปสักนิด อาหารก็จะมีรสชาติดีขึ้น ทำนองเดียวกับแมวซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้าน เห็นหนูเป็นไม่ได้ต้องไล่ตะครุบจับฆ่าเสียเป็นประจำ บ้านใดมีแมวจึงไมี่ค่อยมีหนู แต่คนไม่ค่อยใส่ในในเรื่องนี้มากนัก เพราะห็นเป็นเรื่องธรรมดา ต่อเมื่อไม่มีแมวคอยจับหนู และหนูมากัดเสื้อผ้าข้าวของเสียหาย จึงเริ่มคิดได้ว่า เพราะขาดแมวมาคอยจับหนูนั่นเอง สำนวนแกงจืดจึงรู้คุณเกลือ หนูกัดเสื้อจึงรู้คุณแมว จึงหมายถึง สิ่งที่มีคุณค่าอยู่ในตัวเอง แต่คนมองไม่เห็นคุณค่าหรือความสำคัญของมันต่อเมื่อขาดสิ่งนั้นไปจึงตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งนั้น
อะไรเอ่ย "นกมีหู หนูมีปีก" ปัญหานี้ใช้ทายกันมาตั้งแต่ดั้งเดิม คนส่วนใหญ่ทราบคำตอบกันอยู่แล้วว่า คือ "ค้างคาว" มีนิทานเล่าถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดนี้ว่า ใช้ลักษณะร่างกายของตนเวลาต้องการเข้าพวกกับสัตว์ชนิดอื่น เมื่ออยู่กับนกค้างคาวก็แสดงตนว่ามีปีกจึงเป็นพวกนก แต่พวกนกก็เห็นความแตกต่างตรงที่ค้างคาวมีใบหู ครั้งเข้าไปในกลุ่มนี้ค้างคาวก็แสดงตนว่ามีใบหูเหมือนหนู แต่ปีกของค้างคาวก็ทำให้พวกหนูสังเกตได้ว่าไม่ใช่พวกของตน ดังนั้นสำนวนว่า "นกมีหู หนูมีปีก" จึงใช้ในความหมายว่า กลับกลอกว่าเป็นพวกทั้งสองฝ่าย สำนวนนกมีหูหนูมีปีกนี้ แม้มีคำว่า "หนู" อยู่ด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายถึงสัตว์ประเภทหนูโดยตรง
สำนวนลักษณะนี้ยังมีที่น่าสนใจอีกสำนวนหนึ่ง แม้ในปัจจุบันไม่ค่อยจะมีผู้ใช้แล้ว แต่น่าจะทราบไว้เพราะเป็นสำนวนเก่า สำนวนนั้นคือ "จรกาหน้าหนู" จรกาเป็นตัวละครในบทละครเรื่องอิเหนา ขณะที่จรกาตามเสด็จท้าวดาหาไปรับใช้ที่บนเขาวิลิศมาหรา เวลาพวกผู้ชายที่ตามเสด็จเล่นกันสนุกสนาน จรกาซึ่งเป็นระตูมิหนำซ้ำยังรูปชั่วตัวดำเข้าพวกไม่ได้สนิทใจมักจะอยู่คนเดียว สำนวนจรกาหน้าหนู จึงหมายถึงผู้ที่ไม่เข้าพวกกับผู้อื่น เวลาเขาเล่นกันสนุกสนานจะเป็นเพราะเข้ากับเขาไม่ได้ หรือไม่อยากเข้าพวกกับเขาก็ได้ทั้งสองอย่าง บางครั้งจึงใช้เป็นสำนวนว่า "จรกาหน้าหนูอยู่คนเดียว"
เรื่องราวของหนูในสำนวนไทยยังมีอีกมาก อักษรานำมาเขียนให้ได้อ่านกันพอเป็นตัวอย่าง ชาวกรมประชาสัมพันธ์ที่อยากรู้เรื่องราวของหนูในสำนวนไทย ก็ขอให้หาหนังสือสำนวนไทยมาอ่านกันต่อ พูดไทยเขียนไทยฉบับหน้าอักษราจะพาสัตว์สัญลักษณ์ของปีฉลูมาให้รู้จักกัน
PR
この記事にコメントする
- ABOUT
ブログ2
- カテゴリー
- ブログ内検索